วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปาล์มน้ำมัน กับ การใส่ปุ๋ย สิ่งที่หลายคนไม่ควรมองผ่าน

ใช้หลักใส่น้อย ๆ แต่ บ่อยครั้ง ถึงจะดีที่สุด  เพื่อลดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ และ ควรพิจารณาการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมด้วย

 

การปลูก ก่อนปลูก ปาล์มน้ำมัน ควรใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต รองก้นหลุม เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินในอัตรา 250 กรัมต่อหลุม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้กระจาย ถือต้นกล้าด้วยมือทั้งสองข้าง อย่างระมัดระวัง แล้ววางลงหลุมให้ตรงจุดที่ต้องการ ใส่ดินชั้นบนที่ตากไว้ไปก่อนแล้วตามด้วยดิน ชั้นล่างอัดดินให้แน่น ใช้ไม้ปักผูกไว้ป้องกันการล้มหรือเมื่อลมพัดแรง

 

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน ในระยะต่าง ๆ จําเป็นต้องคํานึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่นปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม สภาพภูมิอากาศ ความต้องการธาตุอาหารของ ปาล์มน้ำมัน ในระยะต่าง ๆ ชนิดของปุ๋ย อัตราการใส่และราคาปุ๋ย สําหรับการขาดธาตุอาหารที่สังเกตได้ ด้วยตาเปล่าก็เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่ง สําหรับการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน

หลักสําคัญในการใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน คือ

1.ใส่ในช่วงที่ ปาล์มน้ำมัน ต้องการ

2.ใส่บริเวณที่ราก ปาล์มน้ำมัน ดูดไปใช้ได้มากที่สุด

ระยะเวลา ควรใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน ควรใส่เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ เช่น ช่วงเช้าตรู่ หรือ ช่วงเย็นจะเป็นเวลาที่เหมาะสมมากในการใส่ป๋ย ควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก

ในปีแรก หลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน ประมาณ 4 – 5 ครั้ง

ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน  3 ครั้ง / ปี ช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการใส่ปุ๋ย คือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน
ตั้งแต่ ปี 5 ขึ้นไป พิจารณาใส่ปุ๋ย เพียงปีละ 2 ครั้ง หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม         การแบ่งใส่ปุ๋ย เมื่อแบ่งใส่ 3 ครั้ง / ปี ให้ใช้สัดส่วน 50:25 % สําหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง / ปี ใช้สัดส่วน 60:40 %ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝน ตามลําดับ

·                    ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

·                    ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม – กันยายน

·                    ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

วิธีการใส่ปุ๋ย ควรใส่ครั้งแรก เมื่อเริ่มปลูก ปาล์มน้ำมัน  โดยใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต อัตรา 250 กรัม/ต้นรองก้นหลุมต่อจากนั้นจะใช้ปุ๋ย ดังนี้

อายุปาล์มน้ำมัน 1 - 4 ปีใส่ บริเวณรอบโคนต้น ที่กําจัดวัชพืชแล้ว
อายุปาล์มน้ำมัน 5 - 9 ปีใส่บริเวณรอบ ๆ โคนต้นห่างจากโคนต้น 50 ซม. ถึงบริเวณปลายทางใบบริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 2 เมตร ถึงบริเวณปลายทางใบ
อายุปาล์ม 10 ปีขึ้นไป หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน หรือบนกองทางใบที่ถูกตัดแต่ง

สำหรับชนิดปุ๋ย ในแต่ละช่วงปี เป็นดังนี้ครับ

ปีที่ 1  เมื่อย้ายกล้า ปาล์มน้ำมัน  ปลูก ( กล้าปาล์มอายุ 12 - 18 เดือน ) ใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุมประมาณ 250 กรัมต่อหลุม เนื่องจากปุ๋ยที่ตกค้างเป็นประโยชน์ได้ 2 - 3 ปี จึงไม่จําเป็นต้องใส่ ทุกปี หลังจากปลูก ปาล์มน้ำมัน  แล้วทุก 3 เดือน ใส่ปุ๋ย สูตร  21 -11 - 11 + 1.2 Mgo ต้นละ 200 - 300 กรัมและใส่อีกครั้งเมื่อปลูก ปาล์มน้ำมัน  ได้ 6 เดือน ในอัตราเดิม และใส่อีกครั้งเมื่อ ปาล์มน้ำมัน อายุได้ 9 เดือน ในอัตราเดิม

ปีที่ 2 เมื่อ ปาล์มน้ำมัน  อายุได้ 18 เดือน ใส่ ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 400 - 500 กรัม เมื่ออายุได้  24 เดือนเต็ม ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 0.5 ก.ก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ ( สูตร 0 - 0- 60 ) อัตราต้นละ 0.5 กก.

ปีที่
 3  เมื่ออายุ ปาล์มน้ำมัน  ได้ 30 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 800 กรัม และเมื่อ ปาล์มน้ำมัน อายุได้ 36 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 1 กก.

ปีที่
 4  เมื่ออายุ ปาล์มน้ำมัน  ได้  42 เดือน ใช้ ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 1.5 กก.ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟต อีกอัตราต้นละ 1 กก. ( สูตร 0 - 3 – 0 ) และ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ อัตราต้น ละ 1.5 กก. ( สูตร 0- 0- 60 )

ปีที่ 5 ใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน  ปี ละ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์  ( สูตร 0 - 0 – 60 ) อัตราต้นละ 1.5 กก. ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2 กก.

 

ปีที่ 6 ใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน  ปี ละ 2 ครั้ง ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ ครั้งแรกปุ๋ยสูตร 14 - 19 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์  ( สูตร 0 - 0 – 60 ) อัตราต้นละ 1.5 กก. ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2 กก.

ปีที่
 7  ใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน  ปี ละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ ( สูตร 0 - 0 – 60 ) อัตราต้นละ 1.5 กก. ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2.5 กก.

ปีที่
 8  ใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน  ปี ละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 2.5 กก.ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ ( สูตร 0-0-60 ) อัตราต้นละ 2 กก.และปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอัตราต้นละ 2 กก. ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2.5 กก.

ปีที่
 9 การใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน  ตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไปไม่ต้องใช้ ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เพราะปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ 3 ปี ต่อครั้ง ไม่ต้องใส่ทุกปี

 

ส่วนปุ๋ยสูตรอื่น ๆ ยังคงใส่เหมือนเดิมทุกปี
ปุ๋ยสูตร 20-11-11+1.2 Mgo เป็นปุ๋ยหลักที่ใส่ให้กับ ปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกในปีแรก

ปุ๋ยสูตร 14-9-20+20 Mgo เป็นสูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ต้น ปาล์มน้ำมัน ทุกปี

ปุ๋ยสูตร 0-0-60 หรือ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 Mgo ปุ๋ย ทั้ง 2 สูตรนี้ ใส่ให้ต้น ปาล์มน้ำมัน  ครั้งแรกของทุกปี

ปุ๋ยสูตร 14-14-21 (หรือปุ๋ยสูตรตัวท้ายอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน) เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้น ปาล์มน้ำมัน  ทุกปี ๆ ละ 1 ครั้ง (ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2)

ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ทุก ๆ 2 ปี   หรือ อาจใส่ทุก ๆ 3 ปี ก็ได้ อัตราการใส่ประมาณ 2 กก. / ต้น การใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน ที่ให้ ผลผลิตแล้วควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2Mgo ผสมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ ( สูตร 0-0-60 หรือบางปี อาจใช้ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟต  เมื่อจําเป็นโดยผสมทั้ง 3 สูตรนี้เข้าด้วยกันแล้วรีบใส่ให้ต้น ปาล์มน้ำมัน  ทันที


ในสวน ปาล์มน้ำมัน  ส่วนใหญ่
ค่าปุ๋ย จะเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด ในบางครั้งอาจจะได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุนหรือเกิดการสูญเปล่า ดังนั้นในสวน ปาล์มน้ำมัน ขนาดใหญ่จึงควรตระหนักถึงการเพิ่มผลผลิต การใช้ปุ๋ยให้ มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะพิจารณาผล การวิเคราะห์ดิน ใบ  อัตราปุ๋ยและชนิดปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อจะลดการ สูญเสียในการใส่ปุ๋ยให้ มากที่สุด การให้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้

ก่อนที่จะปลูก
 ปาล์มน้ำมัน  ควรรักษาสมดุลระหว่างธาตุอาหารที่พืชต้องการมาก เช่น ธาตุ N P K และ Mg ลดการใส่ ธาตุ N จากปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะการปลูกปาล์มในพื้นที่ดินพรุ ควรใส่บริเวณรัศมีรอบทรงพุ่มของ ปาล์มน้ำมัน  โดยการหว่านปุ๋ยให้ ทั่วบริเวณให้กว้างที่สุดเพื่อเพิ่มรากหาอาหาร ซัลเฟต สําหรับให้ธาตุ N และหินฟอสเฟตสําหรับให้ธาตุ P หรือการใช้แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ร่วมกับโดโลไมต์ แทนการใช้ปุ๋ยคีเซอไรต์ ซึ่งมีราคาแพง ในการให้ธาตุ S และ Mg ให้ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำระบายอากาศดี ช่วยให้ดินดูดซับธาตุอาหารพืชไว้ได้มากขึ้น