วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ปาล์มน้ำมัน อีสาน กำลังแรง

ปาล์มน้ำมัน อีสาน กำลังแรง พืชดาวรุ่ง อนาคตไกล

        ปาล์มน้ำมัน กับ อีสาน  การปลูก
ปาล์มน้ำมัน กับ อีสาน ฟังแล้วเหมือนจะขัด ๆกัน อีสาน จะปลูก ปาล์มน้ำมัน ได้หรือไม่เมื่อพูดถึง ปาล์มน้ำมัน เราก็คิดถึงแต่ภาคใต้ หากพูดถึงภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คำแรก ๆที่น่าจะคิดได้ เช่น ทุ่งกุลา อีสานเขียว แม่น้ำโขง ข้าวหอม มีน้อยนักที่จะพูดถึง ปาล์มน้ำมัน อีสาน พื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมามีแต่ความแห้งแล้ง แต่ปัจจุบันถนนแทบทุกสายมุ่งไปที่ อีสาน ทั้งการเน้นปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสินค้าเกษตรอื่นๆ  อีกมากมาย
ปาล์มน้ำมัน ใน อดีต พืชชนิดนี้จะให้ผลผลิตดีที่สุด จำเป็นต้องปลูกในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ เพราะมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ปัจจุบันนี้เราสามารถปลูก ปาล์มน้ำมัน ได้ผลดีเกือบทุกพื้นที่โดยเฉพาะที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้ๆ แหล่งน้ำ
ปาล์มน้ำมัน กับ อีสาน จะเหมาะสมกันหรือไม่  ปัญหาการผลิตใน อีสาน อันดับต้น ๆเลยคือ ปัญหาเรื่องน้ำสภาพความแห้งแล้งของ อีสาน ยังเป็นปัญหาหลักของ อีสาน ปัญหาเรื่องโรงงานที่รับซื้อผลผลิต ปาล์มน้ำมัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่แถวๆ ภาคใต้ และภาคตะวันออก เพราะมีพื้นที่ปลูก ปาล์มน้ำมัน เป็นปริมาณมาก ส่วนภาคอื่นๆ จะมีน้อยมาก แต่ในระยะอันใกล้ อีสาน จะมีโรงงาน ปาล์มน้ำมัน เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการปลูกที่เพิ่มขึ้นใน อีสาน
ปาล์มน้ำมัน ใน อีสาน ยังมีปัญหาอีกส่วนหนึ่งคือ เกษตรกรในอีสาน มักปลูก ปาล์มน้ำมัน ตาม ๆกันโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลให้ครบทุกด้านทั้ง การปลูก การดูแล การการตลาด และข้อมูลอื่น ๆ ทำให้เกษตรกรในอีสานขาดโอกาสที่จะได้กำไรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
  ปาล์มน้ำมัน แม้ว่าจะสามารถเจริญเติบโตในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ที่เหมาะสมควรจะได้รับการส่งเสริมให้ปลูกใน อีสาน เนื่องจากในเขตพื้นที่อีสานนี้มีสภาพป่าไม้น้อย เป็นพื้นที่การปลูกข้าว ประมาณ 40 ล้านไร่  ปลูก ยางพาราอีก 1 ล้านไร่  ในขณะภาคอื่นๆ มีสภาพแวดล้อมหรือป่าไม้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ พื้นที่ อีสาน ส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่เหมาะกับทำนาหรือทำการเกษตร อย่างอื่นหากปลูก ปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมากนักคิดว่าน่าจะเหมาะกับพื้นที่ อีสาน
จากการสำรวจพื้นที่ อีสานโดยกรมพัฒนาการเกษตรทั้งหมดพบว่า ใน อีสาน จังหวัดที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ หนองคาย อุบลราชธานี มุกดาหาร ศรีสะเกศ นครพนม อำนาจเจริญ สกลนคร ส่วนจังหวัดอื่น ๆมีความเหมาะสมพอประมาณปัจจุบันมีโครงการนำร่องส่งเสริมให้ปลูก ปาล์มน้ำมัน ที่อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอ กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกศ และบางส่วนของจังหวัดหนองคายแล้ว โดยให้เกษตรกรใน อีสาน รวมกลุ่ม เป็นกลุ่มรวมๆ พื้นที่ประมาณ 60,000 
        จากการสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ดังกล่าวโดยกรมส่งเสริมการเกษตร โดยการขุดเจาะดินเพื่อดูระดับน้ำใต้ดินเปรียบเทียบกับความต้องการของ ปาล์มน้ำมัน แล้ว พบว่า สามารถปลูก ปาล์มน้ำมันได้ผลผลิตไม่น้อยกว่าการปลูก ปาล์มน้ำมัน ในภาคใต้ โดยเฉลี่ยผลผลิตไม่น่าจะต่ำกว่า 2.7 ตัน /ปี แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ปลูกที่ต้องศึกษาข้อมูลการปลูกให้ชัดเจนจึงช่วยเพิ่มผลผลิตได้

       ในปี 2554 ทางกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการขยายพื้นปลูกใน อีสาน ที่ส่งเสริมอีก 4 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร อำนาจเจริญ สกลนคร และนครพนม โดยให้ทุกสถานที่ที่ไปส่งเสริมในอีสาน นั้นจะให้ มีโรงงานสกัดน้ำ ปาล์มน้ำมัน  โรงงานผลิตปุ๋ย และโรงงานผลิตไฟฟ้าใช้เองเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนใน อีสาน


        ในอนาคตข้างหน้า เราจะได้เห็น อีสาน มีสวนยางพารามากกว่า 2 ล้านไร่ และ ปาล์มน้ำมัน มากกว่า 8 ล้านไร่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นสภาพแวดล้อมจะกลับกลายเป็นป่า นำความชุ่มชื้น มาสู่ อีสาน อย่างมากมาย ทั้งปัญหาดินทรายที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ก็จะเริ่มดีขึ้น ปัญหาดินเค็มก็จะค่อย ๆหายไป อีสานจะเป็นมากกว่า ครัวของไทย ถนนทุกสายกำลังมุ่งสู่ อีสาน อีกครั้งคุณพร้อมหรือยังที่จะปลูก ปาล์มน้ำมัน
        ในปัจจุบันนี้ มีภาคเอกชนประกอบด้วยบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศจากมาเลเซียและ เยอรมนี และภาคเอกชนไทย แสดงความสนใจที่จะลงทุนก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันจาก ปาล์มน้ำมัน จำนวน 4 โรงงานใน อีสาน  คือในจังหวัดอุบลราชธานี 1 แห่ง หนองคาย 2 แห่ง และสกลนคร 1 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะครอบคลุมแหล่งปลูก ปาล์มน้ำมัน ไม่ต่ำกว่า 60,000 ไร่